เคยสงสัยบ้างไหมว่าเราเป็นเราอย่างตอนนี้ได้อย่างไร อะไรล่ะทำให้ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยอนุภาคมูลฐานมีชีวิตชีวามีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาได้อย่างมหัศจรรย์ เรามีความรู้สึกรัก โลภ เกลียด หวงแหน และไม่อยากตาย หรือว่าจริง ๆ แล้วชีวิตเป็นมากกว่าที่เรารู้? ชีวิตคืออะไร ความตายคืออะไร สิ้นสุดที่ตรงไหน หรือว่าแท้จริงแล้วเราเป็นผู้เดินทางข้ามผ่านเวลาอันยาวนานอย่างไม่มีวันจบสิ้น แต่หากเป็นเช่นนั้นจริงทำไมเราจำไม่ได้ล่ะ หากเรามีชีวิตอยู่เพราะกรรม ทำไมธรรมชาติไม่สร้างให้เราจดจำอดีตชาติเพื่อแก้ตัว? ยังมีคำถามอื่น ๆ อีกมากมายที่ยากเกินจินตนาการ หากจะเปรียบแล้วมนุษย์เราก็ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบ AI ร่างกายของเราก็เป็นเพียงฮาร์ดแวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยโปรแกรมลึกลับบางอย่างที่ยากจะควบคุมแต่ก็ไม่ยากเกินเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วทุกอย่างมันเป็นเรื่องธรรมดา... ปริศนาของชีวิตช่างน่าประหลาดใจจริง ๆ แต่หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเข้าใจชีวิตมากขึ้นและมองมันด้วยมุมที่ต่างออกไป คำถามยาก ๆ ถูกแทนค่าด้วยคำอธิบายง่าย ๆ เชิงวิทยาศาสตร์ที่อ่านง่ายและจินตนาการตามได้จริง เมื่อเจาะลึกลงไปคุณจะพบว่าชีวิตแสนธรรมดาของเรานั้น มัน "ไม่ธรรมดา" เลยจริง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้นเหตุแห่งทุกข์ 1


ต้นเหตุแห่งทุกข์เกิดจากใจรับเข้าข้อมูลอันไม่พึงปรารถนา (สิ่งไม่พึงปรารถนา คือสิ่งที่มีผลกระทบไม่ดีต่อสัญญาณชีพ คือ ความดัน อัตราการเต้นของหัวใจ จังหวะการหายใจ อุณหภูมิ และ การใช้ oxygen)

ขณะที่ผลคือ 'ตัวทุกข์' เป็นอาการทางกายที่เกิดจากการที่สมองใช้เคมีคำสั่งจุดชะนวนระเบิดในเซลล์บริเวณหัวใจถี่ขึ้นเพื่อให้ปั๊ม oxygen เข้ามาเยอะๆ สำหรับเตรียมเข้าสู่สภาวะสงคราม คือใช้กำลังต่างๆแก้ไขปัญหาอันเป็นต้นตอของข้อมูลอันไม่พึงปรารถนานั้น



ตราบใดที่ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข คำสั่งยังคงดำเนินต่อไป ความทุกข์ก็จะยังคงอยู่


อย่างไรก็ตาม ความทุกข์ ก็ไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไปเช่นกัน
เมื่อระเบิดถูกใช้หมด พลังงานก็หมด ร่างกายก็อ่อนเพลีย คือต้องพักเพื่อผลิตพลังงานใหม่ ความทุกข์ก็บรรเทาไปได้ระยะหนึ่ง จนแต่ละเซลล์ผลิตพลังงานขึ้นมาใหม่ได้เพียงพอ การระเบิดก็เริ่มใหม่ ความทุกข์ก็เริ่มหมุนมาใหม่ เป็นอย่างนี้ไม่เรื่อยๆ จนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข หรือจนกว่าระบบรับรู้ได้ว่าปัญหาไม่สามารถแก้ไขที่ภายนอกได้ ก็จะเริ่มปรับปรุงระบบภายในแทน ซึ่งเราเรียกกันว่า 'ชิน'

ยกเว้นแต่พวกกำลังใจน้อย หรือแพ้ใจเอามากๆ คือไม่ทน ไม่ได้รู้ตามจริงว่าทุกอย่างไม่เทีียง ไม่คงอยู่ เป็นได้ก็หายได้ หายไม่ได้ก็เกิดใหม่ได้

พวกนี้โดนระเบิดเข้าไปมากๆ ทนไม่ไหว แก้ไขภายนอกไม่ได้ ภายในก็ยังน้ำหนักไม่พอ ยังไม่ชิน เลยดันเลือกทางตายไปซะก่อน ก็เลยอดรู้จักคำว่า 'ชิน' กับความทุกข์ไปอย่างน่าเสียดาย มีต่อ........

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ทุกข์หายเมื่อเห็น


ใครเคยเล่น หรือเคยดูตะกร้อบ้าง
เวลาคนเตะลูกแป จะเห็นมือที่อยู่คนละฝั่งกับเท้าที่เตะมีอาการเกร็งหงิกงอ

หากมีคนไปถามว่าเกร็งทำไม ไม่ได้ใช้มือเตะสักหน่อย
เจ้าตัวก็จะรู้ตัว แล้วคลาย แล้วหายเกร็ง เพราะเห็นตามจริงว่าไม่รู้จะหงิกไปทำไม



ทุกข์ก็เป็นอาการเกร็งอย่างหนึ่ง ต้องใช้พลังงานมาทำให้เกร็งที่หัวใจ กับสมอง ถ้าเห็นว่ามันเกร็ง ก็เลิกเกร็งซะมันก็หาย ไม่จำเป็นต้องไปแก้ไขที่รากเหตุของมัน เพราะเหตุแท้จริงที่ทำให้เจ็บ และเป็นทุกข์คือมันเกร็ง

ถ้าอกหักแล้วยังยิ้มสบายๆ หัวใจไม่เกร็ง สมองไม่เกร็ง แล้วมันจะทุกข์ได้งัย จริงมะ

พอสมองสั่งมาให้หัวใจ ให้สมองเกร็ง เราเห็น เราก็สั่งให้คลาย เป็นอย่างไปสักพัก สมองมันก็เลิกสั่งไปเอง เพราะไม่มีอะไรคงอยู่ตลอดไป ร่างกายเรารู้จักปรับตัว อะไรที่โดนซ้ำๆ มันจะชิน แล้วเฉย แล้วไม่นับเป็นทุกข์ในที่สุด

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

ต่อมต่อมไพเนียล


โรคซิมเศร้าเกิดเพราะต่อมนี้ทำงานไม่สมบูรณ์
ต่อมทำงานไม่สมบูรณ์เพราะมันทำงานตอนมืด เลยถูกเรียกอีกชื่อเป็น ต่อมแห่งความมืด มันจะทำการผลิตเมลาโทนีน เมื่อตารับแสงน้อยลง คือตอนโพล้เพล้

คนในยุคปัจจุบัน ไม่ชอบบรรยายกาศช่วงโพล้เพล้ เพราะเราตื่นกันยันดึกทุกวันจนเป็นนิสัย พอวันไหนว่างพอจะรับรู้ยามโพล้เพล้ เราจะรู้สึกผิดปกติ เพราะเจ้าต่อมไพเนียลจะสั่งให้ร่างกายเข้าโหมดพักคือเตรียมนอน เพื่อเริ่มผลิตสารเมลาโทนินเอาไว้ใช้ยามตื่น แต่เรากลับเข้าใจว่ามืดคือเศร้า เลยกลัวมืด เลยพยายามทำให้สว่าง หาความสำราญ หางานมาต่อต้านความเศร้า ความมืด ต่อมเลยถูกแย่งเวลาทำงาน นานไปๆ ร่างกายเลยขาด Melatonin เมลาโทนิน เลยขาดความสดชื่น และกลายเป็นโรคซึมเศร้าไปในที่สุด


วิธีแก้ไขง่ายๆ คือปรับความคิด และนิสัยเสียใหม่ให้กลับมายอมรับธรรมชาติเดิม คืออยู่กับความมืดอย่างเข้าใจ ไม่สำนึกว่ามันเป็นสิ่งผิดปกติ (เพราะสิ่งปกติของคนในยุคนี้ คือความผิดปกติ) เมื่อทำความเข้าใจไปนานเข้าๆ กระบวนการผลิตเมลาโทนีน ก็จะค่อยๆ ปรับตัวกลับมาดังเดิม ความสดชื่นก็จะคืนกลับมา และโรคซึมเศร้าก็จะหมดไป


คนกลัวเหงา ต้องอยู่กับความเหงา ต้องอยากอยู่เงียบๆคนเดียว ต้องอยากอยู่กับความมืด เพื่อให้โอกาสต่อมไพเนียลได้ทำงานของมัน ความเหงาจึงจะหมดไป

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

ปฐมบทของโรคหดหู่ 5 โมงเย็น


ปฐมบทของโรคหดหู่ 5 โมงเย็น

ปฐมบทของโรคหดหู่ 5 โมงเย็น. โรคเหงา on time หรือ โรคซึมเศร้า เกิดจากยามพระอาทิตย์จะลับโลก ประสาทรับแสงที่ตาจะส่งข้อมูลไปยังสมองส่วนควบคุมเวลาอัตโนมัติ ว่าถึงเวลาพักงานของจิตสำนึก เพื่อเข้าสู่่ Standby Mode แล้ว คือถึงเวลานอน ให้สมองได้ทำการ Disk Defragment, Cleanup Disk etc... เพื่อให้มีเนื้อที่ในสมองสำหรับรับเรื่องใหม่ในวันรุ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ใน Standby Mode ประสาทตาจะรับแสงน้อยลง เพื่อเตรียมพัก จนง่วง เงา หาว นอน และหลับไปในที่สุด

นี่คือธรรมชาติปกติของมนุษย์ !!!

แต่ชีวิตในสังคมปัจจุบัน มันไม่เป็นไม่ตามธรรมชาติ คนทำงานข้ามเวลาเปลี่ยนกะของระบบประสาทไป เลยไม่ค่อยรับรู้ตอนเกิดการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่



ปัญหาจึงเกิดยามว่างคือ วันหยุด หรือ วันว่างหลังเกษียร หรือ วันของวัยที่ไม่ต้องทำมาหากินแล้ว เนื่องจากมีทรัพย์เพียงพอแล้ว
การรับรู้ถึงความมัีว สลัว เงียบ ยามเปลี่ยนกะเพื่อเข้าสู่ Standby Mode ให้จิตใต้สำนึกเริ่มทำงาน เพิ่งถูกสังเกตุ ทำให้รู้่สึกไปว่าจิตเศร้าหมอง จิตสำนึกไม่ยินยอมพร้อมใจ คิดว่าเป็นปัญหา เป็นป่วย เป็นโรค ต้องแก้ไข สมองเลยตั้งเป็นคำสั่งให้หาทางพ้นทุกข์อันนี้ เรื่องธรรมชาติปกติอันนี้เลยกลายเป็นทุกข์ เป็นโรคหดหู่ ซึมเศร้า เหงา เงียบ ไปโดยปริยาย ซึ่งหากไม่เข้าใจสาเหตุแท้ จะหลงไปแก้ไขหลายทาง บ้างว่าน่าจะเ้ป็น พากินสัน อัลไซเมอร์ ฯลฯ และจะแก้ได้ยากขึ้น เพราะเมื่อแก้แล้วไม่หาย จะเกิด Panic และคำสั่งจะวนลูปให้หาทางแก้ปัญหานี้ซ้ำลงไปเรื่อยๆ จนติดเข้าไปเป็นระบบอัติโนมัติ ทำให้ เกิดความเหงาฝังใจ แกะได้ยาก

ครวมนี้ไม่ต้องโพล้เพล้ก็เหงา ก็เศร้าได้ ในหัวจะวนเวียนแต่ความน่ากลัว ของคำว่า โรคประสาท หรือ บ้า จนส่งผลให้ไม่อยากเจอหน้าใคร ทำให้ยิ่งเหงาเข้าไปใหญ่ คนเยอะแค่ไหนก็เหงา แล้วจะแก้ปัญหาได้ยาก เพราะธรรมชาติเป็นสิ่งที่แก้ไม่ได้ มีแต่ต้องทำความเข้าใจ และอยู่กับมันอย่างสมดุลเท่านั้น

การกินเหล้า เที่ยวเตร่ หากิเลสต่างๆ มากลบเกลื่อนความเหงา เงียบ เศร้า หดหู่ ทำได้ก็จริง พอเย็นปุ๊บก็หาอะไรทำปั๊ป หยุดปุ๊บก็วางแผนโน่นนี่ให้ยุ่งๆเข้าไว้ ตั้งเป้าหมายชีวิตให้สูงขึ้นๆ เพื่อจะได้มีเรื่องคิดให้มาก จะได้ไม่ว่างมารับรู้ความรู้สึกตอนเปลี่ยนกะที่เราคิดว่าเป็นโรค เป็นการแก้ปัญหาก็จริง แต่มันได้แค่ชั่วคราว หยุดเมื่อไหร่ก็รู้สึกได้อีก และถ้าหยุดนานมันก็เริ่มฝังคำสั่งอีกแก้ไม่เสร็จซักที

ผู้รู้และกลมกลืนกับธรรมขาติเท่านั้นจึงทุกข์น้อย เพราะไม่ส่งแรงไปดิ้นรนขัดขืนเปลี่ยนแปลงมัน แค่ดูมันด้วยความเข้าใจ และปรับตัวปรับใจให้กลับสู่ปกติตามที่มันควรจะเป็นชีวิตก็สดชื่นแล้ว และนี่จะเป็นก้าวแรกของความเป็น ผู้รู้ ผู้ตืน และ ผู้เบิกบานในที่สุด