เคยสงสัยบ้างไหมว่าเราเป็นเราอย่างตอนนี้ได้อย่างไร อะไรล่ะทำให้ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยอนุภาคมูลฐานมีชีวิตชีวามีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาได้อย่างมหัศจรรย์ เรามีความรู้สึกรัก โลภ เกลียด หวงแหน และไม่อยากตาย หรือว่าจริง ๆ แล้วชีวิตเป็นมากกว่าที่เรารู้? ชีวิตคืออะไร ความตายคืออะไร สิ้นสุดที่ตรงไหน หรือว่าแท้จริงแล้วเราเป็นผู้เดินทางข้ามผ่านเวลาอันยาวนานอย่างไม่มีวันจบสิ้น แต่หากเป็นเช่นนั้นจริงทำไมเราจำไม่ได้ล่ะ หากเรามีชีวิตอยู่เพราะกรรม ทำไมธรรมชาติไม่สร้างให้เราจดจำอดีตชาติเพื่อแก้ตัว? ยังมีคำถามอื่น ๆ อีกมากมายที่ยากเกินจินตนาการ หากจะเปรียบแล้วมนุษย์เราก็ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่ถูกควบคุมด้วยระบบ AI ร่างกายของเราก็เป็นเพียงฮาร์ดแวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยโปรแกรมลึกลับบางอย่างที่ยากจะควบคุมแต่ก็ไม่ยากเกินเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วทุกอย่างมันเป็นเรื่องธรรมดา... ปริศนาของชีวิตช่างน่าประหลาดใจจริง ๆ แต่หนังสือเล่มนี้จะทำให้คุณเข้าใจชีวิตมากขึ้นและมองมันด้วยมุมที่ต่างออกไป คำถามยาก ๆ ถูกแทนค่าด้วยคำอธิบายง่าย ๆ เชิงวิทยาศาสตร์ที่อ่านง่ายและจินตนาการตามได้จริง เมื่อเจาะลึกลงไปคุณจะพบว่าชีวิตแสนธรรมดาของเรานั้น มัน "ไม่ธรรมดา" เลยจริง ๆ

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เงิน ตอบได้ทุกโจทย์จริงหรือ ตอบความกลัวได้หรือไม่ ?

เงิน ตอบได้ทุกโจทย์จริงหรือ ตอบความกลัวได้หรือไม่ ?

 

 

 

 

 

ถ้ามี 20 30 ล้าน รับรองนอนใจได้ เกิดอะไรก็ไม่กลัว มีเงินซะอย่าง ป่วยก็รักษา มีเรื่องใช้เงินจัดการได้ ซื้อมันทุกอย่าง จ้างคนจัดการแทนก็ยังได้
 








เมื่อเงินคือสรณะ ทุกการกระทำโดยสำนึก ก็ไม่ต้องคิดมากแล้ว ทำแล้วได้เงิน และไม่เสียเงินคือถูก
คนยุคนี้จึงชี้การกระทำถูกผิดกันด้วยเงิน เงินคือทุกแรงบันดาลใจ





ศรัทธา ศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม เป็นเรื่องรอง เพราะไม่นำมาซึ่งเงิน การกระทำเหล่านี้ จึงเป็นแนวของพระ หาใช่กิจของฆราวาส
หากหลักการและแนวทางเบื้องต้นถูก คนมีเงินย่อมไม่มีทุกข์ เงินน่าจะถูกวางอยู่บนหิ้งบูชา




อย่างไรก็ตาม ทุกหิ้งบูชายังมีพระ และย้งมีการกราบไหว้บนบาน จากผู้คนมากมาย กระทั่งจากผู้ที่มีเงินมหาศาล เพราะรู้ว่าตรงนี้แก้ความกลัวได้ คือพระปกป้องเราจากความกลัวได้

วิธี การคือ บางคนไหว้ด้วยความเคารพบูชาเพราะเข้าใจในคำสอน และปฏิบัติตามคำสอนเพื่อนำไปสู่ความพ้นทุกข์ พ้นจากความกลัวทั้งหลายตามคำสอน ขณะที่บางคนไหว้เพื่อขอ คือขอให้พระช่วย หรือจ้างให้ช่วยโดยใช้เงินซื้อบุญซะเลย
เพราะซื้อบุญแ้ล้วพระต้องช่วย ซื้อบุญมาก พระต้องช่วยมาก ตามหลักการที่มีเงินเป็นสรณะ โดยไม่สนใจจะรู้วิธีทำให้พ้นทุกข์เหมือนกับจ้างคนมาทำให้เราหายกลัว โดยไม่สนใจจะเรียนรู้วิธีการ เพราะถ้าทำเป็นจะจ้างเหรอ.....

คำถาม คือ ทำไม ศีลธรรม จึงเป็นเรื่องของพระ ทำไมการทำความเพียร ความสงบ การไม่จองเวร ไม่ตอบโต้ ไม่ต่อสู้เพื่อเงิน จึงเป็นเรื่องของพระ
คำตอบคือ ก็ท่านเป็นพระ เป็นคนที่สวมผ้าเหลือง เลยต้องทำให้ถูก ต้องทำให้เป็นตัวอย่าง
คำถามที่ตามมาคือ เป็นตัวอย่างให้ใคร ถ้าไม่ใช่เราผู้ต้องเผชิญกับทุกข์แห่งความกลัวทุกวัน ?!?!

จริง แล้วเราทุกคนรู้อยู่ว่า ทำอย่างไรจึงพ้นทุกข์พ้นกลัว เพราะผู้ที่กระทำตัวอย่างให้เราดู คือผู้ที่กำลังพยายามจะพ้นทุกข์พันกลัว คือพระ ซึ่งต้องทำทุกอย่าง ตรงข้ามกับการมีเงินเป็นสรณะนั่นเอง




ถ้าพูดอย่างนี้แล้ว ตกลงใครมาโกงก็ต้องให้เขาไป ไม่เอาเรื่องใช่หรือไม่
หากสงสัยก็ลองตอบตัวเองดูว่า หากเห็นพระทะเลาะขึ้นโรงขึ้นศาลฟ้องร้อง แจ้งตำรวจจับคนโกงวัดเข้าคุก มันใช่แนวทางที่ควรจะเป็นหรือไม่

ถ้าตอบได้ ก็ตอบตัวเองได้ เพราะสิ่งที่พระกระทำคือ การกระทำเพื่อพ้นทุกข์ พ้นกลัว
  


วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มหาสติปัฏฐาน 4 วิธีออกจากทุกข์ด้วยการเป็นผู้ดู

   

      ผู้ดูไม่เจ็บ อันนี้เป็นเรื่องจริงที่ใครก็เถึยงไม่ได้ เวลาดูมวย หลายคนมักตะโกนสั่งตะโกนสอนกันอุตลุด 'อย่าเข้าไปคลุก บอกว่าอย่าเข้าไปคลุก รู้ว่าวงในสู้ไม่ได้ ยังเข้าไปอีก',

 'ซ้ายเปิด ทำไมไม่ต่อย', 'ทำไมไม่ฉากออกว๊า เข้ามุมทีไรเจ้บทุกที', 'โห บื้อขนาดนี้ กลับไปเลี้ยงลูกดีกว่ามั๊ง'

ทุกกลยุทธเหล่านี้ หากให้ผู้พูดขึ้นไปชกเอง คงต้องกลับบ้านไปเลี้ยงลูกเหมือนกัน เพราะตอนเป็นคนดูมันไม่เจ็บ สมองมันว่างพอจะเห็น จะคิด จะวิเคราะห์ แต่ตอนไปต่อย มันนัวเนีย มัวหัว มัวตา กลัวเจ็บ กลัวจอด มันจะเอาหัวที่ไหนไปคิดทัน แค่กันไม่ให้เจ็บเฉพาะหน้าก็เกินรับแล้ว


เวลาคนอยู่ในปัญหา ในทุกข์ก็ไม่ต่างจากคนชกมวยเท่าไหร่ มันวนอยู่แต่ทุกข์แต่เจ็บ จะเอาตอนไหนไปแจ่มใสพอจะแก้ทางแก้ทุกข์ได้


นักมวยต้องฝึกหนทางแก้มวย ทุกทาง ทุกวิธี ที่คิดได้ และนำไปฝึกหนักกันทุกวัน วัตถุประสงค์เพื่อฝังข้อมูล ฝังทุกภาพที่จำลองเอามาจากของจริงที่เคยผ่าน และฝังจำทุกวิธีแก้ที่คิดขึ้นได้เข้าไปจนมีน้ำหนักการจำซ้ำ ทำซ้ำมากพอที่จะถูกบรรจุเข้าในระบบอัตโนมัติ ที่เราเรียกกันว่าความชำนาญ ซึ่งตอบโต้ได้ไว ใช้เวลาคิดน้อย และหากถ้าทำเยอะเข้าๆ ความชำนาญจะถูกพัฒนาขึ้นเป็นสัญชาตญาณที่ไม่ต้องการเวลาในการคิด ทำให้ตอนชกไม่ต้องเสียเวลาคิด พอเห็นภาพการกระทำของคู่ต่อสู้ที่เราเฝ้าจดเฝ้าจำมาตลอด ยุทธวิธีตอบโต้ที่ถูกฝังไว้ก็จะถูกนำมาใช้เองโดยอัตโนมัติภายใต้การทำงานของจิตใต้สำนึก หรือ AI (ระบบปัญญาประดิษฐ์)


ระบบตัดสินใจอัตโนมัติของมนุษย์ ใช้วิธีจำภาพ (photo recognition) ไม่ได้คำนวน เพราะหากจะหลบรถมัวแต่คำนวน ระยะทาง/ความเร็ว ของวัตถุ 2 สิ่งที่กำลังตรงเข้าหากัน แค่คำนวนแรกเพื่อหาระยะทางจากภาพที่ใหญ่เข้่ามาๆ ก็ชนแล้ว หมัด ก็เช่นกัน เห็นเขาออกหมัดมาแล้ว มัวแต่คำนวนก็คงได้ถูกหามลงแน่


ดังนั้น หากรอทุกข์เกิด แล้วค่อยคิด ก็ไม่ผิดกับมือใหม่หัดขับ จับพวงมาลัยจนเหงื่อนชุ่มแล้วชุ่มอีก ทุกข์ทีก็เสียแรงจิตแรงใจไปมหาศาลกว่าจะหลุดออกจากวังวนได้เล่นเอาต้องหมดพลังงานจนอ่่อนเปลี้ยเพลียแรงกันเสียก่อนจึงหยุดสะลึมสะลือได้สักพัก พอมีแรง ก็เอาอีก คิดใหม่ ทุกข์ใหม่อีก จนมันซ้ำบ่อยเข้่าๆ นานเข้าๆ ก็เริ่มมีน้ำหนักมากพอยอมรับเป็นทุกข์ปกติได้ถึงเลิกทุกข์ เหมือนกับพอขับนานเข้าๆ ก็เก่งก็ไม่เกร็งไม่มีเหงื่อซึมออกมือแล้ว

 

การดูจิต หรือ มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเดียวที่จะออกจากทุกข์ได้ กรรมวิธีก็เหมือนกับการฝึกชกมวย คือฝึกดูภาพและผลของทุกข์ที่เกิดที่ใจ และฝังทางแก้ คือความสงบผ่อนคลายไว้ให้มากพอ จนเมื่อภาพทุกข์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น เจ็บป่วยทรมานจากโรคภัย น้อยใจ เสียใจ อยากได้ กลัวเสีย วิตก เครียด หวาดกลัว กระวนกระวาย โมโห เขินอาย อิหลักอิเหลื่อ ฯลฯ ตลอดจนทางแก้คือ 'สงบสยบเคลื่อนไหว' ถูกบันทึกเข้าไปในระบบอัตโนมัติ จนถึงระดับสัญชาตญาณ พอทุกข์ในรูปแบบต่างๆที่เคยถูกบันทึกไว้เกิดขึ้น ระบบ AI ก็จะเข็นเอาความสงบออกมาผ่อนคลายให้เอง ทุกข์ทางใจก็จะหมดไป


แล้วทุกข์ทางกายภาพล่ะ ไอ้ที่จน มันก็ยังจน ไอ้ที่เจ็บป่วย มันก็ยังป่วย มันจะหายไหม คำตอบคือไม่หาย แต่ไม่นับเป็นทุกข์อีกแล้ว เพราะใจมันสงบอยู่ มันจะทุกข์ได้ยังไง มันทำงานได้ทีละอย่าง เมื่อใจดีใจสบาย สมองก็ปลอดโปร่ง ความถี่ที่ส่งออกไปรอบตัวก็ดี ความถี่หรือกรรมสะท้อนกลับก็ต้องดีตามเป็นลูกโซ่ สิ่งดีๆก็อาจจะเวียนเข้ามาในชีวิตเอง หากไม่ได้ปล่อยสิ่งไม่ดีออกไปเยอะเกิน กรรมมันเข้าออกตามคิว ตามหนัก ตามเบา ตามหยาบ ตามละเอียดของจิตของใจทีส่งออกไปรอบทิศตลอดเวลา

ฝึกมหาสติตลอดเวลา ภายในที่ได้คือสัญชาตญาณที่สามารถออกจากวังวนของทุกข์ได้เองโดยไม่ต้องทำอะไร ภายนอกที่ได้คือกระแสสงบเย็นที่ถูกปลดปล่อยออกมาตลอดเวลาจะเรียกหาความสงบเย็นกลับมาให้เช่นกัน.....

 Link มหาสติปัฏฐาน 4 http://dungtrin.com/index.php?option=com_docman&task=cat_view&gid=95&Itemid=299

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลางสังหรณ์ ญาณหยั่งรู้ สำเหนียกภัย กับพระคาถาชินบัญชร

ก่อนเกิดคลื่นใหญ่ จะมีคลื่นระลอกเล็กๆ วิ่งเข้ามาก่อน





          กรรมอันเป็นความถี่สะท้อนกลับจากการกระทำของเรา ไม่ว่าจะเป็นทางกาย วาจา หรือ ใจ หากเป็นกรรมใหญ่ ระลอกเล็กๆ คือความถี่น้อยๆจะวิ่งเข้าถึงเราก่อน ซึ่งหากใครสวดพระคาถาชิันบัญชร (อย่างเข้าใจในความหมาย) เป็นประจำมาเป็นเวลายาวนาน จะสามารถจับสัญญาณกรรมที่วิ่งเข้ามาชนได้โดยอัตโนมัติ กล่าวคือ ก่อนกรรมใหญ่จะเข้า เสียงสวดจะแว่วขึ้นมาในใจ เหมือนใจกำลังสวดเอง เผลอเป็นได้ยินเสียงสวด เผลอเป็นได้ยินเสียงสวด มากน้อยขึ้นกับระดับกรรม หากถี่มากเหตุการณ์ที่จะเกิดจะเป็นเหตุรุนแรง ถี่น้อยก็เป็นเหตุน้อย


สัญญาณเตือนภัยนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

          ทางด้านกายภาพ หากใครสวดพระคาถาชินบัญชรอย่างเข้าใจในคำแปล สิ่งที่ได้คือเลือดลมเดินสะดวก เพราะมีการกำหนดจิตไปรับรู้ในจุดต่างๆทั่วร่างตลอดจนทิศต่างๆ รอบกายอย่างมีระบบ ในลักษณะเดียวกับการเดินลมปราณ ซึ่งพระผู้แต่งพระคาถานี้คงตรึกมาดีแล้ว


           ทางด้านจิตใจ เนื่องจากบทสวดประกอบไปด้วยการร้องขอให้พระชิน หรือ ผู้ชนะ คือพระอรห้นต์ทั้งหลายในพระพุทธเจ้าช่วยปกปักรักษา เป็นปราการ เป็นเกราะเพชรป้องกันภัยจากอันตรายทั้งปวงให้กับเรา ในลักษณะการฝังถ่วงน้ำหนักเข้าฐานข้อมูลในสมองว่า การทำงานของพระคาถานี้ = การป้องกันภัย ดังนั้นไม่ว่าความถี่ของภัยอันตรายใดถูกรับรู้ จิตใต้สำนึกที่ถูกสั่งไว้ทุกวันๆ จะเริ่มสวดขึ้นเอง ทำให้เรารับรู้และแยกแยะได้ง่ายว่าความรู้สึกเล็กๆที่เราเรียกว่าลางสังหรณ์กำลังเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพราะมีเสียงสวดเป็นสัญญาณยืนยันว่ามีสัมผัสของอันตรายจริง ไม่ได้คิด หรือรู้สึกไปเอง ทำให้เราระวังตัวมากขึ้น สงบขึ้น ไม่ส่งความถี่แรงๆออกไป คิดถึงแต่พระอรหันต์ในพระคาถาซึ่งมีแต่ความสงบเย็นเป็นลักษณะ ผลกรรมต่างๆ ที่จะเข้ามาสนองเลยเบาแรงลง เพราะจิตเราอยู่ในภาวะละเอียดแน่น ความถี่หยาบเลยไม่เข้าพวกเท่าไหร่ กรรมก็ถูกบรรเทาไปในลักษณะนี้

และนี่คืออานิสงส์ของพระคาถาชินบัญชร....

http://2devreg.com/dr1/index.php/2012-03-02-16-32-48/140-chinbunchon

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การแผ่เมตตา

การแผ่เมตตา


การแผ่เมตตา คือการสำรวมจิตตั้งสมาธิกระจายความถี่ละเอียด หรือ ความสงบเย็นออกไปรอบทิศ หรือ เจาะจงไปยังจุดใดจุดหนึ่ง เพื่อให้ผู้รับสัมผัสได้ถึงความสงบเย็นที่เรากำลังดำเนินอยู่ เหมือนสัมผัสได้กับกระแสลมอ่อนเย็น วัตถุประสงค์ก็เพื่อสร้างจังหวะให้เขาเหล่านั้นเย็นลงชั่วขณะ หากเขากำลังเร่าร้อนอยู่ ทั้งนี้เพื่อให้สติมีช่วงได้เกิด ซึ่งอาจส่งผลให้หลุดจากความเ่ร่าร้อนที่กำลังวนเวียนอยู่ได้ เหมือนกับการหยุดสะกิดใจกันสักนิด เผื่อชีวิตจะผิดทางอะไรทำนองนั้น จึงสรุปได้ว่าการแผ่เมตตาคือการสร้างโอกาสให้ดวงจิตที่กำลังเร่าร้อนได้สติ หากดวงจิตเหล่านั้นยังพอรับความถี่ดีๆนี้ได้ ดังนั้นการแผ่เมตตาจึงไม่ได้เป็นไปเพื่อการไล่ทุกข์ ไล่ผี หนีกรรม หลบเหลี่ยงผัดผ่อน ไม่ยอมชดใช้ผลจากการกระทำอันไม่น่าพึงพอใจของเราเอง ดังที่หลายคนคิดและทำกันอยู่ เพราะการแผ่เมตตาลักษณะนี้มีรากฐานความคิดแตกต่างจากการแผ่เมตตาแท้จริงชนิดคนละข้างเลยทีเดียว เนื่องจากการกระทำนี้ เริ่มจากความกลัว ความไม่ต้องการพบกับสิ่งอันไม่พึงประสงค์ กระแสจิตที่เกิดจากรากฐานนี้ย่อมไม่ใช่จิตที่สงบเย็นเป็นสุข กระแสที่ส่งออกไปย่อมไม่ใช่ความถึ่ละเอียด แล้วผู้ที่ได้รับ หรือรับได้ จะรู้สึกดีได้อย่างไร นอกจากไม่รู้สึกดีแล้วยังรู้สึกไม่ดีกับผู้ส่ง ไม่ต่างกับการได้ยินเสียงรบกวนจากคนข้างบ้านยังไงยังงั้น คนสวด นะโมตัสสะ เพื่อไล่ผี กับ คนที่ตั้ง นะโมตัสสะ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ยังไงก็ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด....

การทำบุญใส่บาตรส่งความสุขให้กับผู้ที่จากไปได้จริงหรือ


 เวลาได้ยินข่าวดีของลูกหลาน แม้เราไม่ได้ผลประโยชน์อะไรกับเรื่องดีๆ อันนั้นเลย เราก็ยังมีความสุข คือพลอยยินดีไปกับความสุขนั้นๆ ที่พวกเขาได้รับ

จิตยามยินดี ย่อมเป็นสุข ไม่ได้เป็นทุกข์

การ ทำบุญใส่บาตรให้ผู้ล่วงลับจึงเป็นไปในลักษณะเดียวกันนี้ ความสุขที่เขาได้รับ ไม่ได้มาจากสิ่งของเงินทองที่เราทำให้ แต่มาจากความสงบสุขของเรา ความรักความห่วงใยที่เราแสดงออกต่างหากที่ทำให้จิตเขาสงบเย็นเป็นสุข ดวงจิตอิ่มเอิบ ซึ่งชาวพุทธเรียกกันว่า อนุโมทนา นั่นเอง